วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ดอกลีลาวดี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria spp.
ตระกูล Apocynaceae
ชื่อสามัญ Frangipani,Pagoda,Temple
ถิ่นกำเนิด เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้


ลักษณะทั่วไป ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจาปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บางต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมีขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดแบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มนุษย์ยุคหิน

เครื่องมือทำด้วยหินมีอายุตั้งแต่250,000-50,000ปีก่อนค.ศ.เป็นเครื่องมือของมนุษย์นีนเดอร์ธัลซึ่งเป็นมนุษย์คล้ายกับปัจจุบันมาก(แต่ก็ไม่ใช่มนุษย์อย่างปัจจุบันที่แท้จริง)

หากว่าเราแบ่งยุคประวัติศาสตร์ของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่มนุษย์ที่แท้จริงเกิดขึ้น ความชัดเจนจะชัดเจนมากขึ้น เพราะเราจะรู้ได้ทันทีว่า"ยุคหิน"ที่เคยแบ่งไว้ครอบคลุมเวลายาวนานตั้งแต่ยุคหินเก่า ยุคหินกลางและยุคหินใหม่ นับเป็นช่วงเวลาทั้งสิ้นตั้ง2,000,000ปี-10,000ปีก่อนค.ศ.นั้น ความจริงควรเป็นเวลายุคประวัติศาสตร์ของเครื่องมือหินมากกว่าโดยจะอธิบายประกอบด้วยว่าเครื่องมือหินอายุ10,000-2,000,000ปีเป็นเครื่องมือของโฮมินิดพันธุ์หนึ่งเรียกว่าออสตราโลพิธีคัส สัตว์ครึ่งลิงครึ่งมนุษย์ทำไว้ เครื่องมือหินตั้งแต่1,000,000-250,000ปีเป็นเครื่องมือที่โฮมินิดอีกพันธุ์หนึ่งมีรูปร่างเป็นมนุษย์วานรมากกว่าเรียกว่าโฮโมอิเลคตัสทำไว้ ส่วนเครื่องมือทำด้วยหินมีอายุตั้งแต่250,000-50,000ปีก่อนค.ศ.เป็นเครื่องมือของมนุษย์นีนเดอร์ธัลซึ่งเป็นมนุษย์คล้ายกับปัจจุบันมาก(แต่ก็ไม่ใช่มนุษย์อย่างปัจจุบันที่แท้จริง)ได้ทำไว้ เครื่องมือหินอายุตั้งแต่ปี50,000ก่อนค.ศ.จนถึงปัจจุบันจึงจะถือว่าเป็นเครื่องมือหินของมนุษย์ การกำหนดไว้ดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดเรื่องราวเกี่ยวกับ"ประวัติศาสตร์เครื่องมือหิน"ตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่เอามารวมไว้เป็นประวัติศาสตร์ของมนุษย์และกำหนดให้ช่วงเวลาอันยาวนานตั้งแต่2,000,000ปีมาแล้วว่าเป็นช่วงเวลาของมนุษย์ที่รู้จักทำเครื่องมือด้วยหิน ซึ่งความจริงด้พิสูจน์ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามนุษย์ที่แท้จริงอย่างมนุษย์ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเกิดมาเมื่อประมาณ50,000ปีมานี้เอง

มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ใช้หินเป็นเครื่องมือในการล่าสัตว์เพื่อดำรงชีพหรือมนุษย์ยุคหิน (Pre-history) แบ่งออกได้เป็น 3 สมัยโดยใช้ลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเป็นหลักดังนี้คือ
1. สมัยหินเก่า (Paleolithic Age or Old Stone Age) อายุประมาณ 500,000-250,000 ปีก่อนคริสต์กาล มนุษย์ยุคนี้ใช้ก้อนหินกรวด ตามธรรมชาติมากะเทาะให้มีแง่คมอย่างหยาบๆ ไม่รู้จักขัดให้เรียบเรียกว่าพวก ฟิงโนเอียน สำหรับใช้เป็นเครื่องสับตัดและเครื่องขุดขนาดใหญ่ ประเภทหนึ่ง อีกประเภทหนึ่งใช้เป็นขวานกำปั้น หรือ มักทำจากหินไดอะเบส, หินชนวน, หินเชิต, หินขวอทไซท์ หินโรโอไลท์ หินปูน กะเทาะอย่างหยาบๆโดยปลายข้างหนึ่งมนปลายข้างหนึ่งแหลมเรียกว่า ไซแอมเมียน พบที่บ้านเก่า อ.เมือง จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีการค้นพบหลักฐานของเครื่องมือหินในยุคนี้แต่ไม่ปรากฏว่าพบหลักฐานทางกระดูกของมนุษย์สมัยหินยุคนี้ในประเทศไทยเลย
2. สมัยหินกลาง (Mesolithic Age or Middle Stone Age) อายุประมาณ 45,000-3,500 ปีก่อนคริสต์กาล ใช้เครื่องมือหินกะเทาะมาทำเครื่องมือหินขนาดจิ๋ว บางและเล็กมาก ยาวที่สุดประมาณ 1.50 นิ้ว เรียก Microliths หรือ pigmy-Tools พบที่วังโพธิ์ อ.ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ได้ค้นพบเครื่องมือหินในยุคหินกลางนี้มากที่ดินแดนแควน้อย พร้อมกับโครงกระดูกของมนุษย์ที่ถ้ำตำบลไทรโยค จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเคยมีมนุษย์ในยุคหินกลางนี้อาศัยอยู่เป็นเวลากว่า 20,000 ปีมาแล้ว แต่ในบางตำราได้จัดให้มนุษย์หินยุคนี้เป็น “ยุคหินเก่าตอนปลาย” เพราะได้มีการค้นพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินในแถบตังเกี๋ยที่เมืองหัวบินห์และกวางบินห์ในประเทศเวียดนาม มีอายุประมาณหนึ่งหมื่นปีเศษๆ โดยเครื่องมือหินที่พบจะมีลักษณะที่ทำอย่างหยาบๆ แลดูคล้ายมีดหินที่มีลักษณะทำเรียบเพียงด้านเดียว มนุษย์หินยุคนี้ยังไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ และยังอาศัยกันอยู่ในถ้ำ เชื่อว่าพวกนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของพวกที่มีเชื้อสายออสตราลอยด์ เมลานีลอยด์และมองโกลอยด์ในเวลาต่อมา
3. สมัยหินใหม่ (Neolithic Age or New Stone Age) อายุประมาณ 4,500-3,500 ปีก่อนคริสต์กาล มนุษย์ยุคหินใหม่นี้ใช้เครื่องมือหินที่มีรูปร่างเหมือนขวาน มาขัดให้เรียบเรียกทั่วไปว่า "ขวานฟ้า" หรือ เซโรเนีย เป็นขวานหินขัด ทำแบบต่างๆมีทั้งชนิดแบบธรรมดา มีบ่า เป็นจงอยปากนก แบบคมกลม เป็นค้อนหิน ใบหอกหิน จักร กำไลหิน หัวกระบอง ลิ่ม หินบด พบอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพบที่ หมู่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรีนั้น พบเครื่องมือหินพร้อมกับโครงกระดูกของมนุษย์สมัยหินใหม่นี้เป็นจำนวนมาก เฉพาะที่ขุดสำรวจมีกว่า 50 โครง ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่ามีมนุษย์สมัยหินใหม่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว เราเรียกมนุษย์หินยุคนี้ว่า “ยุควัฒนธรรมบักโซเนียน” เนื่องมาจากชื่อแหล่งที่ค้นพบมนุษย์ยุคนี้เป็นครั้งแรกที่มาจากภูเขาหินบักซอนในตังเกี๋ย
จากการสำรวจพบมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยต่างๆดังกล่าวนี้ ได้พบเครื่องมือหินหลายชนิด ที่บ่งชี้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่รู้จักการใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเป็นมนุษย์ยุคหินที่ใช้ถ้ำตามภุเขาเป็นสุสานสำหรับฝังศพ และยังได้ค้นพบร่องรอยของความเจริญในทางหัตถกรรมสูงมากแล้วด้วย นั่นคือสามารถที่จะเจาะแผ่นหินเป็นรูใหญ่โดยใช้หินกากเพชรและปล้องไม้ไผ่ ทำเลื่อยวงเดือนด้วยหินสำหรับตัดแท่งหินที่กลึงกลมแล้ว สามารถทำเป็นลูกปัดชิ้นเล็กๆใช้เป็นเครื่องประดับ และสามารถใช้หินทำเป็นลูกรอก สำหรับกลึง ทำกำไลหินรูปต่างๆ มีเครื่องปั้นดินเผาหลายแบบหลายชนิดที่ถูกค้นพบ พร้อมทั้งทำแท่งหินที่เคลื่อนหมุนได้อีกด้วยวัฒนธรรมการใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นี้ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่มีอายุเก่าแก่ย้อนไปถึง 20,000-4,000 ปีมาแล้ว อย่างเช่นวัฒนธรรมบ้านเชียงที่แอ่งสกลนคร จังหวัดอุดรธานีนั้น ถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของการปลูกข้าวเมื่อ 5,600 ปีมาแล้ว ครั้นเวลาล่วงเลยไป

ดอก


ดอกไม้มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
1. กลีบเลี้ยง อยู่นอกสุด มีสีเขียว ช่วยหุ้มดอกที่ยังอ่อนอยู่
2. กลีบดอก มักมีสีสวย กลิ่นหอม เพื่อล่อแมลงให้เข้ามาผสมเกสร
3. เกสรตัวผู้ อยู่ต่อจากกลีบดอก ทำหน้าที่สร้างละอองเรณู ประกอบด้วย
ก้านชูอับละอองเรณู
อับละอองเรณู
4. เกสรตัวเมีย อยู่ชั้นในสุด ทำหน้าที่สร้างออวุล ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เพื่อใช้ในการผสมพันธุ์ ประกอบด้วย
ยอดเกสรตัวเมีย
ก้านเกสรตัวเมีย
รังไข่ ซึ่งภายในจะมีออวุล
ใบ
ใบเป็นส่วนของพืชที่งอกออกมาจากลำต้น หรือกิ่ง ใบพืชส่วนใหญ่มักมีสีเขียว เนื่องจากมีสาร “คลอโรฟิลล์ ” แต่บางชนิดก็มีสีีอื่นปนอยู่

หน้าที่ของใบ
1. สร้างอาหารให้พืช การสร้างอาหารของพืช เรียกว่า “ การสังเคราะห์ด้วยแสง”
2. หายใจ พืชใช้แก๊สออกซิเจนในการหายใจ และปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมาทางปากใบ
3. คายน้ำ พืชจะคายน้ำส่วนที่เกินความต้องการออกทางปากใบ การคายน้ำจะช่วยลดความร้อนให้ต้นไม้ด้วย
4. หน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น ดักแมลง (ใบต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ) ขยายพันธุ์ (ใบของต้นคว่ำตายหงายเป็น)